เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาการเกษตรไทย

สามารถอ่านเนื้อหาทั้งหมดที่เขียนโดยรัสรินทร์ ชินโชติธีรนันท์ได้จากทาง https://thaipublica.org/2021/12/future-thailand-rassarin-chinnachodteeranun/

ขอนำเสนอเนื้อหาแต่เพียงบางส่วนเท่านั้น

การปฏิรูปการเกษตรที่ประสบความสำเร็จและสามารถเป็นแบบอย่าง ทั้งในเชิงของแนวความคิดและการปฏิบัติมีอยู่มากมาย ดังเช่น ประเทศเนเธอแลนด์ ที่แปรสภาพตัวเองจากประเทศที่พื้นที่กว่า 20% ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล สู่ประเทศที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกเรื่องการบริหารจัดการน้ำ ในช่วงปี ค.ศ. 1950 ถึง ค.ศ. 1997 ใช้เงินงบประมาณไป 2.4 แสนล้านบาท เพื่อสร้างโครงสร้างการบริหารจัดการน้ำ

หลังจากนั้นพื้นที่การเกษตรทั้งหมดก็ไม่ต้องเจอกับปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากอีก และยังมีน้ำใช้เพียงพอสำหรับการเกษตร และด้วยพื้นที่เพียง 41,543 ตร.กม. (ประเทศไทยมีพื้นที่มากกว่า 10 เท่าคือ 513,120 ตร.กม.) สามารถที่จะส่งออกสินค้าการเกษตร และเป็นสินค้าคุณภาพสูง เป็นอันดับ 2 ของโลก มีมูลค่าสูงถึงประมาณ 3.1 ล้านล้านบาท (มูลค่าส่งออกสินค้าการเกษตรของไทยมีมูลค่าเพียง 5-6 แสนล้านบาท)

นอกจากการจัดการโครงสร้างน้ำแล้ว ประเทศเนเธอแลนด์ยังพลิกวิกฤติไปสู่งานวิจัยและพัฒนาเชิงลึก ด้านการเกษตรและแบบจำลองทางโมเดลด้านการเกษตร ที่หลายประเทศทั่วโลกนำเอาไปใช้ เช่น ระบบวิเคราะห์การบริหารจัดการน้ำ แบบจำลองการไหลเวียนของน้ำ ตัวอย่างเช่น SWAP (soil-water-atmosphere-plant) model

นักเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์การเกษตรไม่มีใครไม่รู้จักมหาวิทยาลัยหลักด้านการเกษตร คือ Wageningen University ที่ตัวผู้เขียนมีโอกาสได้ทำการศึกษาวิจัยร่วมกับทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจให้เลือกทำหัวข้องานวิจัยด้าน API integration platform for agronomic models เนื่องจากได้เห็นการนำข้อมูลและการบริหารจัดการมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และต่อมางานวิจัยของผู้เขียนก็ได้ถูกบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของแผนนโยบายปฏิรูปการเกษตรของประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย

กระทู้ที่คล้ายกัน

เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาการเกษตรไทย
อ่าน 1 นาที

มาดูกันว่าลิสเซินฟิลด์สามารถปรับปรุงการทำงานและเพิ่มกำไรให้คุณได้อย่างไร

ติดต่อเรา